สาเหตุของสงคราม
กล่าวกันว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรติออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการปฏิวัติในรัสเซีย เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นั้นอยู่ที่ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดรุค ฟรานซิส เฤอร์ดินานด์ รัชทายาทของจักวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป นักศึกษาชาตินิยมชาวเซิร์บ ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด กระนั้นหากจะว่าไปแล้วการลอบปลงพระชนม์อาร์คดรุค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ ในครั้งนั้นเป็นเพียงสัญญาณการเริ่มต้นของสงครามเท่านั้น ทั้งนี้เพราะแท้จริงแล้วในบรรดามหาอำนาจยุโรปในเวลานั้นได้ตั้งค่ายและป้อมพร้อมที่จะหันเข้าห้ำหั่นกันก่อนหน้านี้อยู่แล้ว รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีตัดสินใจทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ เมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมัน จึงยื่นข้อเสนอที่เซอร์เบียไม่อาจรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมันจึงเรียกร้องไม่ให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง แต่สองมหาอำนาจไม่ยอมปฏิบัติตาม เยอรมันจึงประกาศสงครามกับรัสเซียเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม 1914
เริ่มสงคราม
สงครามโลกรั้งที่เริ่มต้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 1914 และออสเตรีย-ฮังการียกทัพเข้าโจมตีเซอร์เบียในวันต่อมา รัสเซียก็ได้ระดมพลบางส่วน มุ่งมายังชายแดนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี นับเป็นการขยายสงครามออกมาอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์ยับยั้งไว้ไม่ได้แล้ว เยอรมันจึงตองประกาศว่าการระดมพลของรัสเซียหมายถึงรัสเซียต้องทำสงครามกับเยอรมันด้วยเช่นกัน (ทั้งนี้เพราะเยอรมันมีพันธะตามข้อสัญญากับออสเตรีย-ฮังการีเดิมอยู่แล้ว)
วันที่ 1 สิงหาคม 1914 เยอรมันได้หันไปถามฝรั่งเศสว่ามีข้อเสนออะไรต่อสงคราม ครั้งนี้บ้าง ซึ่งเยอรมันก็รู้ดีว่าฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กับรัสเซียอยู่ ฝรั่งเศสตอบอย่างท้าทายว่า ฝรั่งเศสจะกระทำตามที่ฝรั่งเศสเห็นสมควร นั่นก็คือ การสั่งระดมพลช่วยเหลือรัสเซีย แม้เยอรมันจะประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคมก็ตาม แต่เยอรมันก็ไม่ปล่อยให้ตั้งตัวได้ทัน จึงสั่งระดมพลเข้าโจมตีฝรั่งเศสก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน เยอรมันยกพลยึดครองประเทศลักแซมเบิร์กซึ่งประกาศวางตัวเป็นกลางตั้งแต่แรก ไม่เพียงเท่านั้น เยอรมันได้ยื่นคำขาดให้เบลเยี่ยมตอบภายใน 12 ชั่วโมง โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าเบลเยี่ยมยินยอมให้เยอรมันเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตีฝรั่งเศส รัฐบาลเยอรมันสัญญาว่าจะเคารพในเขตแดนและประชาชนชาวเบลเยี่ยม แต่ถ้าปฏิเสธ เยอรมันจะกระทำกับเบลเยี่ยมเยี่ยงศัตรู และแล้วคำตอบของเบลเยี่ยมก็ได้รับคำชื่นชม โดยคำตอบของเบลเยี่ยมมีอย่าเด็ดเดี่ยวและเชื่อมั่นว่า ความเป็นกลางของเบลเยี่ยมนั้นมีมหาอำนาจทั้งหลายรวมทั้งเยอรมันด้วยเป็นผู้ค้ำประกัน ดังนั้น เบลเยี่ยมจะไม่ยินยอมให้ผู้ใดละเมิด ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆก็ตาม
ย้อนกลับไป วันที่ 1 สิงหาคม เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำกรุงลอนดอนได้เข้าสอบถามรัฐบาลอังกฤษว่า จะวงตัวเป็บกลางในสงคามครั้งนี้หรือไม่ แถมมีเงื่อนไขต่อมาอีกว่าหากอังกฤษเป็นกลางเยอรมันจะยอมรับความเป็นกลางของเบลเยี่ยมด้วย
แต่ข้อเสนอนี้ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นถึงการแผ่บารมีของเยอรมันที่อังกฤษหวาดระแวงอยู่แล้วมากเกินไป ดังนั้น ไม่เพียงแต่ปฏิเสธข้อเสนอเท่านั้น อังกฤษยังได้สงสารถึงฝรั่งเศสโดยบอกว่า เรือของอังกฤษจะเข้าช่วยเหลือและป้องกันฝรั่งเศสอย่างเต็มที่
ลังจากนั้นรัฐบาลอังกฤษได้ยื่นคำขาดให้เยอรมันในกรณีรุกเบลเยี่ยม เยอรมันได้แจ้งอัครราชทูตอังกฤษประจำเบอร์ลินว่า อังกฤษไม่ควรเข้าร่วมสงครามเพียงเพราะกระดาษแผ่นเดียว การกล่าวดูหมิ่นสัญญาที่ได้ทำขึ้นมาทำให้อังกฤษไม่อาจนิ่งนอนใจได้ และวันที่ 4 สิงหาคม 1914 อังกฤษจึงประกาศสงครามกับเยอรมัน
อเมริกาเข้าร่วมสงคราม ในวันที่ 6 เมษายน 1917 โดยประกาศสงรามกับเยอรมัน
ในปี 1916 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ได้รับเลือกเป็นครั้งที่สอง ด้วยคำขวัญหาเสียงว่า จะไม่นำอเมริกาเข้าร่วมสงคราม ซึ่งประชาชนก็เห็นชอบด้วย แต่เมื่อประธานาธิบดีวิลสันประกาศเข้าร่วมสงครามในปี 1917 ประชาชนจำนวนมากเห็นชอบด้วย สาเหตุนั้นมาจากการที่เยอรมันนั้นตกลงใจหันไปอาศัยการทำสงครามที่ให้เรือดำน้ำอย่างไม่มีขอบเขตอีกครั้ง เมื่ออเมริกาได้รับการแจ้งเตือนดังนี้แล้วจึงตัดสินใจประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 1917
อิตาลีเข้าร่วมสงคราม โดยอิตาลีแต่เดิมนั้นเป็นพันธมิตรกับเยอรมันและจักวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ตั้งแต่ปี 1882 แต่อิตาลีนั้นมีความต้องการพื้นที่ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีใน เทรนติโน อิสเตรีย และดัลมาเทีย อิตาลีได้แอบทำสัญญาลับกับฝรั่งเศสในปี 1902 ซึ่งลบล้างพันธมิตรของตนอย่างสิ้นเชิง รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีเริ่มเจรจาเพื่อให้อิตาลีเป็นกลางในสงคราม ซึ่งเสนอตูนีเซีย ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นการตอบแทน อย่างไรก็ตามอิตาลีได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรในเดือนเมษายน 1915 และประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีในเดือนพฤษภาคม และประกาศสงครามกับเยอรมันในอีก 15 เดือนต่อมา
บทสรุปสงครามโลกครั้งที่ 1
การสิ้นสุดสงครามโลกนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกไม่น้อยตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงในเรื่องอาณาเขต เยอรมันยอมยกมณฑลอัลซาส-ลอร์เรนให้แก่ฝรั่งเศส และดินแดนบางส่วนให้แก่เบลเยี่ยม ส่วนหนึ่งของโปแลนด์และปรัสเซียตะวันตกให้แก่โปแลนด์ ทั้งยังต้องยกเมเมลให้แก่ลิธัวเนีย ดานซิกให้เป็นนครอิสระ ลุ่มแม่น้ำซาร์ให้อยู่ภายใต้การปกครองของสันนิบาตชาติ
การเปลี่ยนแปลงเรื่องการเมือง เยอรมันต้องยอมยกเมืองขึ้นทั้งหมดของตนให้กับประเทศต่างๆ นั่นคือ เมืองขึ้นในแอฟริกาแบ่งให้แก่บริเตนใหญ่ เบลเยี่ยม และฝรั่งเศส ดินแดนเกือบทั้งหมดในจีนและทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกต้องยกให้แก่ญี่ปุ่น
เกิดประเทศเอกราชใหม่ขึ้น นั่นคือ โปแลนด์ ฮังการี ยูโกสลาเวีย เชโกสโลวาเกีย ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโทเนีย ฟินแลนด์ และออสเตรีย
ด้านเศรษฐกิจ เยอรมันจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ประเทศที่ชนะสงคราม โดยต้องจ่ายเป็นเงินสด เป็นวัสดุ หรือเป็นแรงงาน และจะต้องจ่ายค่าเสียหายด้านผลงานศิลปะที่ถูกทำลายไป และจะต้องฟื้นฟูดินแดนที่เสียหายด้วยปศุสัตว์ เครื่องจักรกล และถ่านหิน
ด้านการทหาร เยอรมันถูกกำหนดให้เหลือกำลังพลเพียง 100,000 คน และต้องมอบกระสุนและอาวุธทั้งหมดให้แก่สัมพันธมิตร เหลือเพียงเรือรบไม่กี่ลำในนาวีเยอรมัน ถูกบังคับให้เลิกมีเครื่องบินทหาร ป้อมปราการที่เฮลิโกแลนด์และกีลถูกทำลาย ดินแนในแถบไรน์แลนด์เป็นเขตปลอดทหาร เกิดสันนิบาตชาติ โดยมีความมุ่งหมายสำคัญคือ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างชาติ และการให้ได้มาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของชาติต่างๆ